แจ้งเพื่อทราบว่าบล็อกเกอร์นี้จัดทำขึ้นเพื่อใช้ในการเรียนการสอนรายวิชาอินเตอร์เน็ตในชีวิตประจำวัน นิสิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ขอขอบคุณที่เข้ามาเยียมชม

ชอบๆๆๆ

วันพฤหัสบดีที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2555

เศรษฐกิจพอเพียงกับการวางแผนการเงิน


เศรษฐกิจพอเพียงกับการวางแผนการเงิน
จากหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันอาทิตย์ที่ ๑๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๔
อัจฉรา โยมสินธุ์ atchara.y@bu.ac.th

มีข้อมูลจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และการศึกษาเรื่องการขยายตัวของความเจ็บป่วยโดยคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเปิดเผยว่า เมื่อเทียบกับในอดีตคนไทยเป็นโรคเบาหวานเพิ่มขึ้น เป็นโรคความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้น มีไขมัน มีน้ำตาล มีโคเลสเตอรอลในเลือดสูงขึ้น เป็นโรคเรื้อรังเพิ่มขึ้น มีน้ำหนักตัวเกินเกณฑ์ปกติมากขึ้น เป็นโรคอ้วนมากขึ้น ส่วนข้อมูลจาก Living Planet Report ๒๐๑๐ ก็รายงานว่าโลกของเราสุขภาพย่ำแย่ลงอย่างรวดเร็วทุกปี ดรรชนีความสมบูรณ์ตามธรรมชาติของโลกลดลงอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันความต้องการบริโภคของมุนษย์มีมากเกินกว่า
ปริมาณทรัพยากรของโลกไปแล้ว... และมีการคาดการณ์ว่าในปี ๒๐๓๐ และ ๒๐๕๐ การบริโภคจะเพิ่มขึ้นเป็น ๒ และ ๒.๘ เท่า เราจึงต้องมีโลก ๒ – ๓ ใบจึงจะมีทรัพยากรเพียงพอสำหรับความต้องการบริโภค!!!
เพราะคนจำนวนมากทั่วโลกพ่ายแพ้ต่อกิเลสตัณหาจึงบริโภคเกินความจำเป็น จนเป็นเหตุให้มีสารพัดโรคเรื้อรังรุมเร้ามีข้าวของรกรุงรัง กระทั่งมีหนี้สินล้นพ้นตัว เพราะเกษตรกรส่วนใหญ่ต้องการผลผลิตเยอะๆ จึงใช้ปุ๋ยใช้สารเร่งโตเร่งสีเร่งดอกเร่งผล จนเป็นเหตุให้ดินเสื่อมโทรม ร่างกายทรุดโทรม เพราะนายทุนส่วนใหญ่ต้องการผลประโยชน์มากๆ จึงทำเรื่องไม่เหมาะไม่ควรทั้งรุกล้ำทำลายป่า ติดสินบนเจ้าหน้าที่ จนเป็นเหตุให้ป่าไม้ถูกทำลายอย่างรวดเร็ว เพราะผู้บริหารในหลายประเทศต้องการเร่งสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ จึงให้ความสำคัญกับการพัฒนาด้านอื่นๆ น้อยกว่าที่ควรจนเป็นเหตุให้เกิดการ
พัฒนาที่ไม่สมดุล... ปัญหาที่เกิดขึ้นบนโลกส่วนใหญ่เกิดขึ้นจาก “ความไม่สมดุล” โดยเฉพาะ “ความไม่สมดุลในการบริโภค”
ดูเหมือนว่า ความเจริญเกิดขึ้นมากเท่าใด ความเสื่อมก็จะเกิดขึ้นมากไม่แพ้กัน... ทางออกง่ายๆ ทำได้จริงก็คือเราต้องคืนสมดุลให้กับธรรมชาติด้วยการบริโภคแต่พอดี ใช้ทรัพยากรตามจำเป็นและสมควร ซึ่งการปฏิบัติตนตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงก็คือทางออกที่ดีที่สุดที่จะสร้างความสมดุลให้แก่เราและโลกของเรา... มีคนไทยจำนวนไม่น้อยเลยที่เข้าใจว่าเศรษฐกิจพอเพียงเป็นเรื่องของเกษตรกร คงเป็นเพราะสับสนกับเกษตรทฤษฎีใหม่ที่เป็นเพียงแนวทางหนึ่งในการประยุกต์ใช้
เศรษฐกิจพอเพียง เนื่องจากเป็นตัวอย่างที่เห็นชัดเจนเป็นรูปธรรมและเข้าใจง่าย คนจำนวนมากจึงทึกทักเอาว่าการจัดสรรที่ทำกินเพื่อให้พึ่งพาตนเองได้ของเกษตรกรคือเศรษฐกิจพอเพียง จนเข้าใจผิดว่าปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไม่เกี่ยวข้องกับตัวเองเป็นเรื่องของชาวไร่ชาวนาหรือเกษตรกรเท่านั้น... ซึ่งก็ไม่น่าแปลกใจเพราะแม้แต่คำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ทรงสอนทรงแสดงไว้เมื่อประมาณ ๒,๖๐๐ ปีที่แล้ว พุทธศาสนิกชนจำนวนมากก็ยังไม่เข้าใจแก่นแท้ ไม่เข้าใจหัวใจของพระพุทธศาสนา..ที่จริงแล้วปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวทางที่ใครๆ ก็นำไปประยุกต์ใช้ นำไปปฏิบัติได้เพราะเป้าหมายสำคัญของเศรษฐกิจพอเพียงก็เพื่อการพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน
ใครต้องการความสมดุล ความยั่งยืนทางการเงินก็ต้องวางแผนการเงินตามแนวทางนี้ เพราะ “เงินก็คือทรัพยากรอย่างหนึ่ง” ที่เราต้องจัดสรรให้เพียงพอสำหรับปัจจุบันและอนาคต การวางแผนการเงินจึงเป็นเรื่องของการสร้างสมดุลทางการเงิน เพื่อให้มีเงินสำหรับใช้จ่ายได้ทั้งในวันนี้และในวันหน้า การวางแผนการเงินเป็นไปเพื่อการสร้างความมั่งคั่งอย่างยั่งยืน เพื่อเป้าหมายในระยะยาว เพื่อการเกษียณอย่างมั่นคง... การไม่วางแผนการเงินอาจทำให้เรามีเงิน มีความสุขกับการใช้จ่ายในปัจจุบัน
จนขาดความสมดุลและละเลยความยั่งยืน
การวางแผนการเงินเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันทางการเงินอย่างครบวงจรตลอดช่วงชีวิตของเรา การวางแผนการเงินจะสร้างสมดุลทางการเงินให้เราทั้งในปัจจุบันและในอนาคต... ใครที่วางแผนการเงินอย่างรอบคอบจึงถือเป็นผู้ที่รู้จักประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอย่างชาญฉลาด เพราะการวางแผนการเงินทำให้เรารู้จักประมาณตนเอง เข้าใจสถานการณ์ทางการเงินของตนเอง จึงไม่หลงไปตามกระแสบริโภคนิยม วัตถุนิยม ไม่บริโภคเกินกำลัง เห็นช้างขี้ก็ไม่อยากขี้ตามช้าง...
การวางแผนการเงินจะทำให้เรามองปัจจุบันและอนาคตอย่างมีเหตุมีผล เราจึงต้องจัดสรรทรัพยากรทางการเงินอย่างรอบคอบ ความสมดุลในการบริโภค ความสมดุลทางการเงิน และความสมดุลในการใช้ชีวิตก็จะเกิดขึ้น... การใช้เงินปัจจุบันเพื่อสนองตัณหาก็จะน้อยลง การทานอาหารหรูหราราคาแพงตามใจปากเพื่อความเอร็ดอร่อยโดยไม่ยับยั้งชั่งใจ ไม่สนใจน้ำตาลหรือไขมันก็จะลดลง การกู้เงินเพื่อซื้อหาข้าวของราคาแพงเกินกำลังก็จะลดลง การดึงเงินในอนาคตมาใช้ก็จะลดลง เพราะความมีเหตุ
มีผลจะทำให้เราให้ความสำคัญกับความมั่งคั่งมั่นคงในระยะยาวมากกว่าสีสันที่ฉาบฉวยในระยะสั้น เราจะเข้าใจความสำคัญของการออมเงินและหาความรู้เกี่ยวกับ การออม การลงทุนอย่างรอบคอบ รู้จักสร้างผลตอบแทนจากการลงทุนอย่างระมัดระวังเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันทางการเงินที่แข็งแกร่งสำหรับตัวเอง และเราก็จะเข้าใจว่าการบริโภคโดยไม่เบียดเบียนตัวเองไม่เบียดเบียนส่วนรวมและสิ่งแวดล้อม การบริโภคอย่างเอื้อเฝื้อซึ่งกันและกันจะช่วยสร้างสมดุลให้เราได้อย่างแท้จริง
ลองพิจารณาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสุขภาพของตัวเองดูบ้าง พิจารณาโลกที่กำลังร้อนขึ้น ภัยพิบัติทางธรรมชาติที่รุนแรงและเกิดบ่อยขึ้น ทรัพยากรธรรมชาติที่ถูกใช้ ถูกทำลายรวดเร็วขึ้น... เราก็จะได้คำตอบที่ชัดเจนว่าการวางแผนการเงิน การบริโภคและการใช้ชีวิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงเท่านั้นที่จะช่วยกอบกู้วิกฤตความไม่สมดุลบนโลกใบนี้ได้...
ดาวน์โหลดบทความ

เศรษฐกิจพอเพียง กับการแก้ไขปัญหาการเงินนอกระบบ


เศรษฐกิจพอเพียง กับการแก้ไขปัญหาการเงินนอกระบบ

          จากสภาวะเศรษฐกิจในยุคปัจจุบัน ที่ส่งผลกระทบต่อประชาชนส่วนมากที่มีรายได้น้อย ปัญหาที่สำคัญที่สุดคือ รายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่ายในชีวิตประจำวัน ทำให้ต้องแสวงหาเงินหรือทรัพย์สินอื่นเพิ่มเติม โดยการประกอบอาชีพเสริม โดยเฉพาะการนำเงินไปลงทุนประกอบธุรกิจแบบแชร์ลูกโซ่โดยโฆษณาชักชวนว่า เมื่อนำเงินมาลงทุนกับบริษัทแล้วจะได้รับผลประโยชน์ตอบแทนสูงภายในระยะเวลาอันสั้น ทำให้ประชาชนส่วนมากยอมที่จะนำเงินที่ตนเก็บสะสมมาทั้งชีวิตไปลงทุนกับบริษัทเหล่านั้น ด้วยหวังเพียงว่าจะได้รับผลประโยชน์ตอบแทนที่สูงดีกว่าการเก็บเงินนั้นไว้โดยไม่ทำอะไรเลย หรือ นำเงินฝากธนาคาร การกู้ยืมเงินจากแหล่งเงินกู้นอกระบบที่มีอัตราดอกเบี้ยสูงเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด ล้วนถือเป็นการเงินนอกระบบทั้งสิ้น
          ปัจจัยต่างๆ ตามที่ได้กล่าวมา ก่อให้เกิดปัญหาตามมาอีกมากมาย อาทิ การถูกหลอกลวงจากการนำเงินไปลงทุนประกอบธุรกิจแบบแชร์ลูกโซ่ ปัญหาจากการถูกทวงหนี้ที่มีการข่มขู่ หรือการทำร้ายร่างกาย ทำให้ได้รับความเสียหาย ซึ่งปัญหาต่างๆ เหล่านี้จะไม่เกิดขึ้นหากเราดำรงชีวิตอยู่อย่างพอเพียง ดังนั้น จึงขอนำแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตให้แก่พสกนิกรชาวไทย มาปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ในการแก้ไขปัญหาการเงินนอกระบบ และอาจนำไปใช้เป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและอาชญากรรมต่างๆ ของประเทศได้เป็นอย่างดี

          เศรษฐกิจพอเพียง 1) เป็นปรัชญาที่ชี้แนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงมีพระราชดำรัสแก่พสกนิกรชาวไทยมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2517 และตรัสอย่างชัดเจนในวันที่ 4 ธันวาคม 2540 (ภายหลังวิกฤติเศรษฐกิจ พ.ศ. 2540) เพื่อเป็นแนวทางการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศไทย ให้ดำรงอยู่อย่างมั่นคงและยั่งยืนในกระแสโลกาภิวัฒน์และความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ในทางการเมืองของไทย เศรษฐกิจพอเพียงจึงมีบทบาทสำคัญในด้านอุดมคติ โดยเฉพาะอุดมการณ์กษัตริย์นิยมในสังคมไทย ในฐานะ “กษัตริย์นักพัฒนา” ซึ่งส่งผลต่อการเติบโตของอุดมการณ์เศรษฐกิจพอเพียง สิ่งเหล่านี้ถูกตอกย้ำและผลิตซ้ำโดยสถาบันทางสังคมต่างๆ เช่น สถาบันการศึกษา หน่วยงานราชการ สื่อมวลชน ส่งผลให้เศรษฐกิจพอเพียงมีบทบาทต่อการกำหนดอุดมการณ์การพัฒนาของประเทศ
          พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้พัฒนาหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อที่จะให้พสกนิกรชาวไทยได้เข้าถึงทางสายกลางของชีวิตและเพื่อคงไว้ซึ่งทฤษฎีของการพัฒนาที่ยั่งยืน ทฤษฏีนี้เป็นพื้นฐานของการดำรงชีวิตซึ่งอยู่ระหว่างสังคมระดับท้องถิ่นและตลาดระดับสากล จุดเด่นของแนวทางปรัชญานี้คือ แนวทางที่สมดุล โดยชาติสามารถทันสมัย และก้าวสู่ความเป็นสากลได้โดยปราศจากการต่อต้านกระแสโลกาภิวัตน์
          เศรษฐกิจพอเพียงสามารถที่จะคงไว้ซึ่งขนาดของประชากรที่ได้สัดส่วน ใช้เทคโนโลยีได้อย่างเหมาะสม รักษาสมดุลของระบบนิเวศ และปราศจากการแทรกแซงจากปัจจัยภายนอก ปัจจุบันปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงได้มีการนำไปใช้เป็นนโยบายรัฐบาล และปรากฏในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550

          ระบบเศรษฐกิจพอเพียง มุ่งเน้นให้บุคคลสามารถประกอบอาชีพได้อย่างยั่งยืน และใช้จ่ายเงินให้ได้มาอย่างพอเพียงและประหยัด ตามกำลังของเงินของบุคคลนั้น โดยปราศจากการกู้หนี้ยืมสิน และถ้ามีเงินเหลือก็แบ่งเก็บออมไว้บางส่วน ช่วยเหลือผู้อื่นบางส่วน และอาจจะใช้จ่ายมาเพื่อปัจจัยเสริมอีกบางส่วน สาเหตุที่แนวทางการดำรงชีวิตอย่างพอเพียง ได้ถูกกล่าวถึงอย่างกว้างขวางในขณะนี้ เพราะสภาพการดำรงชีวิตของสังคมทุนนิยมในปัจจุบันได้ถูกปลูกฝัง สร้าง หรือกระตุ้น ให้เกิดการใช้จ่ายอย่างเกินตัว ในเรื่องที่ไม่เกี่ยวข้องหรือเกินกว่าปัจจัยในการดำรงชีวิต เช่น การบริโภคเกินตัว ความบันเทิงหลากหลายรูปแบบ ความสวยความงาม การแต่งตัวตามแฟชั่น การพนัน หรือเสี่ยงโชค เป็นต้น จนทำให้ไม่มีเงินเพียงพอเพื่อตอบสนองความต้องการเหล่านั้น ส่งผลให้เกิดการกู้หนี้ยืมสิน เกิดเป็นวัฏจักรที่บุคคลหนึ่งไม่สามารถหลุดออกมาได้ ถ้าไม่เปลี่ยนแนวทางในการดำรงชีวิต

          เศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติตนได้ในทุกระดับ โดยเน้นการปฏิบัติบนทางสายกลาง และการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน ซึ่งประกอบด้วย
          1) ความพอประมาณ สอนให้ทุกคนรู้จักความพอดี หากมีเงินน้อยก็ใช้จ่ายอย่างพอประมาณสมฐานะ เพื่อเป็นการไม่สร้างความเดือดร้อนทางด้านการเงินให้กับตนเอง และครอบครัว ซึ่งทำให้สามารถควบคุมการใช้จ่ายได้ และไม่นำไปสู่ทางออกในการกู้ยืมเงินนอกระบบ และปัญหาอื่นๆ อันอาจตามมาภายหลัง
         2) ความมีเหตุผล คิดและตัดสนใจเรื่องต่างๆ ในการดำรงชีวิต โดยมีเหตุประกอบการตัดสินใจ พร้อมคำนึงถึงผลที่จะได้รับจากการได้ลงมือกระทำนั้น ยกตัวอย่างเช่นเมื่อมีผู้มาชักชวนให้สมัครเป็นสมาชิก หรือร่วมลงทุนในกิจการใด ต้องพิจาณาถึงความน่าเชื่อถือของผู้ประกอบกิจการนั้น และความเป็นไปได้ของคำชักชวน อาทิ เรื่องผลตอบแทนจากการลงทุนว่าเป็นไปได้หรือไม่ที่ธุรกิจที่กล่าวอ้างจะสามารถจ่ายผลตอบแทนได้ตามที่กล่าวอ้าง เป็นต้น ไม่ตัดสินใจเพียงเพราะเห็นแก่ประโยชน์ที่อ้างว่าจะได้รับในอนาคต ซึ่งจะทำให้ไม่ตกเป็นเหยื่อของกลุ่มมิจฉาชีพ หรือผู้ประกอบการที่กระทำไม่ชอบด้วยกฎหมาย
          3) การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว สร้างความพร้อมเพื่อรับการเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต เช่น เมื่อมีการกู้ยืมเงินนอกระบบ หรือได้เข้าเป็นสมาชิกในธุรกิจอันอาจมีลักษณะเป็นแชร์ลูกโซ่ หรือการเข้าร่วมเล่นในวงแชร์ ต้องเก็บเอกสารและหลักฐานที่เกี่ยวข้องทุกชนิดไว้ เพื่อประโยชน์การอ้างเป็นพยานหลักฐาน หากเกิดกรณีปัญหาในการทวงหนี้ การประกอบธุรกิจ หรือการจ่ายและรับเงินในวงแชร์ แล้วแต่กรณี ทางการจะสามารถใช้หลักฐานเหล่านั้นเอาผิดกับผู้ที่ได้กระทำผิดกฎหมาย และได้รับการชดใช้ในความเสียหายที่เกิดขึ้นแต่การนั้นได้
          4) ความรู้ จำเป็นต้องมีความรอบรู้ทางวิชาการอย่างรอบด้านในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับกรณีที่ต้องตัดสินใจ ก่อนการกู้ยืมเงิน หรือเข้าร่วมเป็นสมาชิกในการประกอบธุรกิจ หรือการร่วมเป็นสมาชิกในวงแชร์ ต้องศึกษาหาข้อมูลประกอบ อาทิ ศึกษาข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งหน่วยงานที่รับผิดชอบในการควบคุมดูแล เพื่อการขอรับคำแนะนำ การตรวจสอบข้อมูลและพฤติการณ์ต่างๆ ทำให้รู้เท่าทันการหลอกลวงในรูปแบบต่างๆ เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น
          5) คุณธรรม ต้องยึดธรรมในการดำรงชีวิต เช่น มีความชื่อสัตย์สุจริต ความเพียร ตั้งมั่นอยู่บนพื้นฐานของทางสายกลาง และตระหนักถึงสภาวการณ์ในโลกปัจจุบัน หากมีผู้มาชักชวนให้เข้าร่วมประกอบการอย่างใดๆ โดยอ้างผลตอบแทนที่สูงเกินความเป็นจริง คำนึงถึงความเป็นไปได้ ทั้งการพึ่งพาตนเองเป็นสำคัญ ไม่ปล่อยให้ความโลภเข้าครอบงำจิตใจอันอาจทำให้เกิดการตัดสินที่ไม่รอบคอบ และไม่ได้ใช้ความระมัดระวังเท่าที่ควร ดังนั้นการไม่ยึดติดกับสิ่งที่จะได้รับตอบแทนอันไม่เป็นจริง ทำให้ไม่หลงกลผู้มีเจตนาหลอกลวง ซึ่งเป็นผู้กระทำผิดตามกฎหมาย

          ผู้เขียนและคณะจึงขอฝากข้อคิดดีๆ ของหมื่นตาที่ว่า “โลกทั้งใบไม่เพียงพอกับคนโลภเพียงคนเดียว” ใช้ “ความพอเพียง” หยุดความอยาก ความต้องการ ของตัวเองให้ได้ ไม่เช่นนั้นปัญหาต่างๆ ในสังคมก็จะเกิดต่อไปเรื่อยๆ อย่างไม่มีที่สิ้นสุด
http://www.1359.in.th/fincrime2004/index.php?option=com_content&task=view&id=2158&Itemid=72

ตอน เศรษฐกิจพอเพียงกับการบริหารเงิน


 ตอน เศรษฐกิจพอเพียงกับการบริหารเงิน
                                             
พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙
เมื่อวันอังคารที่ ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๐
ณ. พระราชวังสวนจิตรลดา
“...ฉะนั้นก็ต้องคิดดีๆว่าที่ได้ทำโครงการนั้น ก็มีจุดประสงค์ที่จะให้มีรายได้...
...ทำโครงการนี้อะไรก็ตามจะต้องมีเหตุผล ก็ต้องบริหารงานการให้ดีทุกอย่าง บริหารโครงการ บริหารกิจการต่างๆ บริหารเงิน ทุกอย่างจะต้องบริหารให้ดี ฉะนั้นถ้าไม่บริหาร ก็ล่มจม...
...ก็ขอให้คิดว่าทำอะไรต้องประหยัด คนก็ว่า ประหยัดดีกว่าไม่มีเลย...
...พอเพียง คือ อะไรไม่ใช่ว่าให้ทำกำไรเล็กๆน้อยๆเท่านั้นเอง ทำกำไรก็ทำ ถ้าเราทำกำไรได้ดีมันก็ดี แต่ว่าขอให้มันพอเพียง ถ้าท่านเอากำไรหน้าเลือดมากเกินไป มันไม่ใช่พอเพียง...
...พอเพียง ถ้ามีเงินก็ต้องใช้ไม่ใช่ขี้เหนียวซื้อไปเถอะ แต่ถ้าไม่มีเงินก็ระงับหน่อย ถ้าไม่มีเงินแล้วจ่ายจะอันตราย...อย่างสมัยนี้ คนไม่มีเงิน ให้ใช้เงิน ใช้เงินมากๆ เพราะว่าถ้าคนไม่มีเงิน ใช้เงินมากๆก็ต้องไปกู้ คนที่มีเงินมากๆก็ได้กำไรไม่พอเพียง...”[2]
๑.     ความเป็นมาและปัญหาสาเหตุ                                                                                                                ๑.๑ ความเป็นมา การเป็นผู้ประกอบการธุรกิจSMEs ในบ้านเรา ที่จะให้ประสบความสำเร็จต้องขอบอกว่าเป็นเรื่องที่ยากเย็นมากๆ ด้วยเหตุผลหลายประการ เช่น ไม่มีโรงเรียนสอนการเป็นผู้ประกอบ การธุรกิจ ที่สอนให้นักเรียนนักศึกษาออกมาเป็นผู้ประกอบการ โรงเรียนหรือมหาวิทยาลัยสอนคนออกมาเพื่อรับราชการทำงานเป็นลูกจ้างบริษัทเอกชน กว่าจะคิดที่เป็นผู้ประกอบการธุรกิจได้ชีวิตก็ผ่านเลยไปครึ่งชีวิต การเริ่มต้นจึงดูเหมือนว่าจะช้าไปที่จะทำให้ธุรกิจที่ทำเป็นเรื่องเป็นราวพัฒนาให้ได้ดี ในครึ่งหลังของชีวิต ที่มาของผู้ประกอบการธุรกิจSMEsอีกส่วนหนึ่ง คือ กลุ่มที่ไม่ได้เรียนหนังสือหรือรับช่วงต่อจากกิจการของครอบครัว เข้าไปทำงานอยู่ในภาคการผลิต การค้าหรือบริการ ใช้วิธีครูพักลักจำหรือการลองผิดลองถูกไปเลยๆ คนกลุ่มนี้กว่าจะประสบความสำเร็จจะพอๆกับกลุ่มแรก คือผ่านไปแล้วครึ่งชีวิต  มีผู้สำรวจผู้ประกอบการSMEsหน้าใหม่ในบ้านเรา ๑๐๐ราย จะสามารถอยู่รอดปลอดภัยในธุรกิจหลังจากทำมาแล้ว ๓ปีเพียง ๕๐เปอร์เซนต์และสามารถขยับขยาย ตัวเองให้เป็นขนาดกลางขนาดใหญ่ในระยะเวลา ๑๐ปีเหลือเพียง ๒-๓ รายเท่านั้น เราจะเห็นได้ว่าผู้ประกอบการธุรกิจSMEsมีปัญหามากมายที่ต้องฝ่าฟันอุปสรรค์กว่าจะที่ประสบความสำเร็จ                               ๑.๒ ลักษณะและข้อจำกัดโดยทั่วไปของธุรกิจSMEsไทย สามารถแยกเป็นด้านๆได้ดังนี้                                       (๑) ด้านการตลาด สามารถผลิตสินค้าตอบสนองความต้องการตลาดในท้องถิ่นหรือภายใน ประเทศ แต่ขาดความรู้ความสามารถการตลาดต่างประเทศ การถูกธุรกิจขนาดใหญ่และสินค้าจากต่างประเทศเข้ามารุกรานถึงท้องถิ่น สามารถในการแข่งขันด้านราคาต่ำ                                                                      (๒) ด้านแรงงาน แรงงานมีการเข้าออกสูง เมื่อมีฝีมือมีความสามารถความชำนาญจะย้ายไปทำงานในโรงงานขนาดใหญ่มีผลตอบแทนดีกว่า จึงทำให้คุณภาพของแรงงานไม่สม่ำเสมอ  การพัฒนาไม่ต่อเนื่องส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการผลิตและคุณภาพสินค้า                                                                             (๓) ด้านเทคโนโลยีการผลิต SMEsใช้เทคนิคการผลิตไม่ซับซ้อน เนื่องจากการลงทุนต่ำและผู้ประกอบการ ลูกจ้างขาดความรู้ที่รองรับเทคนิคที่ทันสมัยจึงทำให้ขาดการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ตลอดจนการพัฒนาคุณภาพมาตรฐานที่ดี                                                                                                                     (๔) ด้านการจัดการ การขาดความรู้ในการบริหารจัดการที่มีระบบ ใช้ประสบการณ์จากการเรียนรู้จากการทำงาน บริหารโดยอาศัยบุคคลในครอบครัวญาติมาช่วยงาน แม้จะมีข้อดีในเรื่องการดูแลที่ทั่วถึง แต่เมื่อกิจการขยายตัวหากไม่ปรับปรุงการบริหารจัดการก็จะเกิดปัญหาขึ้นได้                       (๕) การเข้าถึงบริการของรัฐ SMEsเป็นการจัดตั้งกิจการที่มีรูปแบบไม่เป็นทางการ ไม่มีการจดทะเบียน เป็นการปิดกั้นตัวเองในการเข้ามาใช้บริการของรัฐ เนื่องจากปฏิบัติไม่ถูกต้องตามระเบียบข้อบังคับของรัฐ ข้อจำกัดในการรับรู้ข่าวสารข้อมูลของรัฐและการตลาดเป็นต้น                                               ๑.๓ ปัญหาและอุปสรรคด้านการเงินของ SMEs จากการสำรวจสอบถามข้อมูลจากผู้ประกอบการSMEs ที่เป็นหนี้เสียกับสถาบันการเงิน(NPL)พบว่า ผู้ประกอบการSMEsที่มีปัญหาทางการเงินนั้นมีองค์ประกอบของปัญหาดังต่อไปนี้                                                                                                                                 (๑) แหล่งเงินทุน ลักษณะทั่วไปของSMEsมีเงินลงทุนน้อยเงินทุนส่วนใหญ่เกิดจากการสะสมเก็บออมของตนเอง การได้รับอุปการะจากพ่อแม่ญาติพี่น้อง  เมื่อต้องการขยายกิจการหรือเพิ่มเงิน ทุนหมุนเวียน จึงต้องอาศัยเงินทุนจากสถาบันการเงิน มักประสบปัญหาการไม่ได้การพิจารณาเนื่องจากไม่มีการจัดทำบัญชี ขาดหลักทรัพย์ค้ำประกัน ทำให้ต้องพึ่งพาเงินกู้นอกระบบและต้องจ่ายดอกเบี้ยในอัตราที่สูง  ซึ่งจะเป็นปัญหาเรื่องต้นทุนการผลิตและค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้น                                 (๒) การบริหารเงิน                                                                                                                                                         - วินัยทางการเงิน เป็นเรื่องของการใช้เงินไม่ตรงตามวัตถุประสงค์ ตัวอย่างเช่นได้เงินกู้ยืมมาลงทุนแต่นำเงินไปใช้จ่ายลงทุนด้านอื่นหรือกิจส่วนตัว การลงทุนบางรายการสูงกว่าที่กำหนดไว้ เช่น การก่อสร้างอาคารขนาดใหญ่ขึ้น การซื้อเครื่องจักรเกินความต้องการมากๆ  ถึงกำหนดการชำระหนี้แต่กลับนำเงินไปลงทุนเพิ่มหรือไปใช้จ่ายด้านอื่น และคิดว่าจะหาเงินมาชำระได้ทัน                             - ปัญหาการบริหารกระแสเงินสด ปัญหาเงินขาดมือ เงินไม่พอจ่ายค่าสินค้าค่าวัตถุดิบ เนื่องจากSMEsใช้วิธีการประมาณการเงินสดจากเงินในกระเป๋าหรือเงินในบัญชีธนาคารในแต่ละเดือน ขาดการบริหารเงินเข้าออกของกิจการ(การจดบันทึกกระแสเงินสดจากการขายสินค้าและเงินจ่ายซื้อวัตถุดิบไม่พอดีสมดุลกันหรือการคำนวณน่าจะมีเงินสดคงเหลือมากกว่า) เมื่อเงินสดขาดมือก็จะใช้วิธีหยิบยืมระยะสั้นโดยการแลกเช็ค ซึ่งเป็นที่มาของต้นทุนการผลิตที่สูง                                                                - ปัญหาเรื่องรายรับ-รายจ่าย เป็นการบริหารการซื้อการขายที่ส่งผลกระทบมายังการบริหารเงินเช่น การขายเงินสดน้อยขายเงินเชื่อมาก ทำให้ครั้งต่อไปไม่มีเงินซื้อวัตถุดิบมาผลิตต้องหยุดกิจการชั่วคราวเงินมาเมื่อไรจึงเริ่มผลิตใหม่ได้ หรือ ตนได้รับเครดิตการค้ามา ๓๐วันแต่ให้เครดิตกับลูกค้าของตน ๔๕วัน๖๐วัน ทั้งสองกรณีจะเห็นว่าทำให้เงินสดขาดมือ ขาดเงินทุนหมุนเวียน                                        - ปัญหาการบริหารทรัพย์สินและหนี้สิน ประการแรก ด้านทรัพย์สิน ความเหมาะสมในการถือทรัพย์สินเช่นวัตถุดิบมากเกินความจำเป็นจะใช้  สินค้าคงเหลือมากรวมทั้งไม่มีการเช็คสต๊อกสินค้า มีลูกหนี้ค้างชำระมากทั้งจำนวนรายและจำนวนเงินไม่สามารถเรียกเก็บหนี้ได้ นำเงินไปลงทุนในกิจการอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของตนเอง มีทรัพย์สินบางรายการที่ถืออยู่โดยไม่ได้ใช้ประโยชน์เช่น ถือครองทรัพย์สินประเภท ทองคำ ของสะสมพระเครื่อง หรือ ถือครองที่ดินมากเกินการความจำเป็นในการใช้  การสร้างอาคารสิ่งปลูกสร้างที่ใหญ่โตแต่ใช้พื้นที่นิดเดียว การซื้อเครื่องจักรที่มีความสามารถในการผลิตเกินการผลิตจริง  ประการที่สอง ด้านหนี้สิน มีเครดิตการค้ามากไม่ยอมชำระตามเวลาที่กำหนด มีหนี้เงินกู้กับสถาบันการเงินและหนี้นอกระบบมากเกินความสามารถในการชำระหนี้ทั้งดอกเบี้ยและเงินต้น มีหนี้ค่าใช้จ่ายค้างชำระ เช่น ค่าภาษี ค่าแรงงาน ค่าน้ำประปา ค่าไฟฟ้า ค่าโทรศัพท์                                                                                                                                                               เราต้องยอมรับว่าปัญหาด้านการเงินของผู้ประกอบการธุรกิจSMEsเป็นปัญหาเริ่มต้นของปัญหา ด้านอื่นๆที่จะลุกลามตามมา เป็นปัญหาสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจและการดำรงอยู่ต่อไปของธุรกิจ ไม่มีปัญหาใดที่ไม่สามารถแก้ไขได้ทุกปัญหาแก้ไขได้หากเรามีสติ                                                                      ๒. แนวคิดและปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง(Philosophy of the Sufficiency Economy)                        “เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า 25 ปี ตั้งแต่ก่อนวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำแนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น แนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชนจนถึงระดับรัฐ ให้ดำเนินไปใน“ทางสายกลาง”เพื่อสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงต่างๆ


 ๒.๑ ทางสายกลางหรือมัชฌิมาปฏิปทา หมายถึง ทางปฏิบัติที่ไม่สุดโต่งไปในทางอุดมการณ์ใดอุดมการณ์หนึ่งเกินไป มุ่งเน้นใช้ปัญญาในการแก้ปัญหาไม่ยืดถือหลักการอย่างงมงาย ในทางพุทธศาสนาทางสายกลาง คือ อริยมรรค มีองค์ 8 คือ ศีล สมาธิ ปัญญา การไม่ยึดถือสุดทางทั้ง 2 คือ การกระทำให้ตนเองให้ลำบากเกินไป หรือการพัวพันหลงมัวเมาในกามในความสบาย                                       ทางสายกลาง ความพอเพียงจะต้องประกอบด้วย 3 คุณลักษณะพร้อมๆ กัน ดังนี้
(๑) ความพอประมาณ เป็นการทำอะไรแบบไม่เกินตัว ต้องมีการพึงพาตนเองก่อน ไม่ทำอะไรเกินความสามารถของตนเอง เกินสติปัญญาหรือทำในสิ่งที่เราไม่รู้ หรือยังไม่ได้เรียนรู้                                 (๒) มีเหตุผล การใช้หลักธรรมะ(ธรรมชาติ)มาเป็นหลักคิดในการดำเนินชีวิตการได้คิดหาหลักเหตุหลักผล การรู้ถึงรากหรือบ่อกำเนิดของปัญหา(สมุทัย) เราสามารถค้นหาปัญหา(ความทุกข์)จนพบความดับทุกข์ การเข้าใจความจริง(นิโรธ)ไปสู่การดับความเศร้า และหนทางนำไปสู่ความดับทุกข์ การใช้สติ การใช้ความคิด(มรรค)
                 (๓) มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี ด้วยหลักธรรมะภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี คือ ศีล สมาธิ และปัญญา
                - ศีล คือ สัมมาวาจา การพูดจาถูกต้อง สัมมากัมมันตะ   การกระทำถูกต้อง สัมมาอาชีวะ การดำรงชีพถูกต้อง
- สมาธิ คือ  สัมมาวายามะ ความพากเพียรถูกต้อง  สัมมาสติ  ความระลึกถูก สัมมาสมาธิ การตั้งใจมั่นถูกต้อง
- ปัญญา คือ สัมมาทิฏฐิ ความเข้าใจถูกต้อง สัมมาสังกัปปะ ความใฝ่ใจถูกต้อง
๒.๒ เงื่อนไข/คุณสมบัติ
(๑)  กรอกความรู้ ประกอบด้วย                                                                                                             - รอบรู้ ทำธุรกิจอะไรต้องรู้จริงรู้แจ้ง สิ่งใดไม่รู้เพียรแสวงหามั่นเพิ่มเติมความรู้                 - รอบคอบ คิดให้รอบคอบการวางแผนงานแบบก้าวเดินทีละก้าว ไม่วิ่งหรือก้าวกระโดด
ตามกระแส                                                                                                                                                                             - ระมัดระวัง โดยทุกขั้นทุกตอนมีการประชุมระดมความคิดมีการวางแผนงาน
                (๒) คุณธรรม ประกอบด้วย ซื่อสัตย์สุจริต ขยันอดทน  สติปัญญา และแบ่งปัน ทั้ง๔คำเป็นคำที่สื่อสารให้เราทราบแบบง่ายๆตรงไปตรงมามีความหมายในตัวของแต่ละคำ ขึ้นอยู่กับเราจะปฏิบัติได้ดีขั้นใด

๓. การนำทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียงปรับใช้กับการบริหารเงิน เมื่อเราทราบแล้วว่าทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียงคืออะไรเป้นอย่างไรแล้ว เราสามารถปรับให้เข้ากับการบริหารเงินได้อย่างไร
๓.๑ ทางสายกลาง ในทางปฏิบัติให้เข้ากับการบริหารเงินของธุรกิจ ก็คือ การที่ผู้ประกอบการต้องเป็นคนบริหารสติเสียก่อน เราเคยได้ยินคำกล่าวที่ว่า “สติมาปัญญาเกิด ใช้ชีวิตอยู่บนความไม่ประมาท” ไม่ไหลไปกับอาการ โลภ โกธร หลง ที่ครอบงำจิตใจของเรา                                                                (๑) ปรัชญาการทำธุรกิจของSMES                                                                       - เราทำธุรกิจต้องมีความเจริญเติบโต บนพื้นฐานของความมั่นคงทางธุรกิจและยั่งยืน  ทำการลดความเสี่ยงให้น้อยที่สุดหรือไม่มีความเสี่ยงเลย คิดให้ออกว่าเราจะขยายธุรกิจอย่างไรดีตามความรู้ความสามารถ ค่อยเป็นค่อยไปไม่ต้องก้าวกระโดด ทำฐานให้แน่นเสียก่อน
                - เราทำธุรกิจต้องมีกำไร กำไรไม่มากไปไม่น้อยไป เราฝากเงินกับธนาคารได้ดอกเบี้ยมาร้อยละหนึ่งบาทสองบาทต่อปี เราเอาเงินไปลงทุนทำธุรกิจได้กำไรมาปีละร้อยละห้าบาทสิบบาท เราพอใจ การทำกำไรต่างจากการเก็งกำไร การเก็งกำไรหมายถึง เรากำลังเอาธุรกิจของเราเข้าไปเสี่ยงกับสิ่งที่เราไม่สามารถคาดการณ์ได้ เสี่ยงกับความล้มเหลวล้มละลาย
                - เราต้องมีสภาพคล่องทางการเงิน  ตอนเริ่มต้นธุรกิจเราต้องให้เงินของเราที่เก็บหอมรอมริดมาทั้งชีวิตบวกกับเงินของผู้มีอุปการะคุณ เมื่อทำธุรกิจไปเลยเราต้องดูแลรักษาสภาพคล่องของเงินให้ดี อย่าให้ขาดมือได้ แต่ละเดือนต้องมีเงินจ่ายค่าจ้างลูกน้อง ลูกน้องจะได้มีกำลังในการทำงานมีเงินชำระค่าวัตถุดิบ คู่ค้าจะได้ส่งวัตถุดิบส่งสินค้าให้เราอย่างสม่ำเสมอ ไม่ถูกตัดน้ำตัดไฟ เป็นต้น
                (๒) ความพอประมาณ ตัวอย่างเช่น ทำธุรกิจแบบพอเพียงทำกำไรได้ แต่เราต้องรู้ตัวว่าการทำกำไรนั้นๆต้องไม่มากเกินไปจนดูเหมือนเป็นการเอารัดเอาเปรียบลูกค้าหรือสังคม กำไรน้อยเกินจนไม่พอต่อต้นทุนการผลิตพอต่อค่าใช้จ่ายพอต่อการเสียภาษีเสียดอกเบี้ย ทำธุรกิจแบบพอเพียงก็กู้เงินได้ แต่เราต้องรู้ตัวว่าเมื่อได้เงินกู้มาแล้วตอนนำเงินมาลงทุนให้ถูกวัตถุประสงค์ของการขอกู้ ไม่ลงทุนเกินตัว ไม่เอาเงินกู้ไปใช้จ่ายส่วนตัว สถาบันการเงินที่อนุมัติเงินกู้ให้แก่เราได้พิจารณาคำนวณตัวเลขดีแล้วว่าจำนวนเงินลงทุนควรเป็นเท่าไรจำนวนเงินที่จะใช้ในการหมุนเวียนเท่าไร หากขายได้ตามที่ประมาณการณ์ไว้เราสามารถทำธุรกิจได้อยู่รอดได้มีเงินจ่ายดอกเบี้ยและคืนชำระเงินต้นได้
                (๓) มีเหตุมีผล การใช้หลักเหตุผล การไม่โลภไปกับสิ่งยวนยั่วนที่เขานำมาหลอกล่อ ไม่เสี่ยงกับสิ่งที่ไม่มีเหตุไม่มีผลกับคำโฆษณาชวนเชื่อ ความโกธรเป็นฟืนเป็นไฟ การใช้อารมณ์เหนือเหตุผล เราตัดสินใจจะลงทุนอะไรอย่างไร ต้องไม่ใช้อารมณ์ อยู่บนหลักเหตุผล  การไม่หลงมัวเมาไปกับสิ่งเร้าภายนอก คิดไตร่ ตรองให้ดีก่อนตัดสินใจ แล้วเราจะได้ชื่อว่า“เป็นคนที่กระทำอะไร ด้วยสติ ด้วยความไม่ประมาท”
                (๔)  มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี ในการบริหารธุรกิจบริหารการเงินเราสามารถปรับใช้กับ ศีล สมาธิ ปัญญาได้ เช่นกัน
                - มีศีล  เจตนา ความตั้งใจละเว้นจากการทำในสิ่งที่ไม่ดีงาม ได้แก่ สัมมาวาจา เว้นจากการพูดไม่จริง พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ ทำธุรกิจเราต้องเป็นคน การพูดจาถูกต้องไพเราะ อ่อนหวาน มีหางเสียง พูดแต่สิ่งที่ดี พูดมีหลักการมีเหตุมีผล จะเป็นคนที่ได้รับความนิยม มีคนชื่นชมชมชอบ ทำให้ขายสินค้าได้ดีได้มากได้ราคา  สัมมากัมมันตะ เว้นจากการการกระทำในสิ่งไม่ถูกต้อง ไม่ขายสินค้าที่ต่ำคุณภาพ ไม่ขายสินค้าเกินราคาหรือขูดรีดประชาชน ไม่ฉวยโอกาสทำให้สินค้าขาดแคลน  ขายสินค้าด้วยความเป็นธรรมเที่ยงธรรม สัมมาอาชีวะ ละเว้นจากการประกอบอาชีพที่ผิดทาง ค้าขายอาวุธ การค้าสิ่งมีชีวิต การค้าขายเนื้อสัตว์ การค้าขายน้ำเมา การค้ายาพิษ ประกอบอาชีพในทงที่ถูก การดำรงชีพถูกต้อง ทำให้ร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง จิตใจเป็นสุข
                - สมาธิ คือ  สัมมาวายามะ มีความพากเพียรพยายามไม่ย้อท้อ มีความมุมานะ ไม่ยอมแพ้ต่อสิ่งใดง่ายๆ   สัมมาสติ  ความระลึกถูก ให้สะอาดบริสุทธิ์ในการคิด พูด และทำ ไม่คิดถึงความสำเร็จไม่อดีต ไม่นึกถึงความล้มเหลวในอนาคต แต่คิดที่จะทำปัจจุบันให้ดีที่สุดตามความรู้ความสามารถ พูดในสิ่งที่เราคิด(ที่ดีที่มีประโยชน์) ทำในสิ่งที่เราพูด สัมมาสมาธิ การตั้งใจมั่นถูกต้อง สมาธิเป็นของจำเป็นกิจการทุกอย่าง มีใจจดจ่อกับการทำงานกับธุรกิจ
- ปัญญา คือ สัมมาทิฏฐิ ความเข้าใจถูกต้อง สัมมาสังกัปปะ ความใฝ่ใจถูกต้อง คิดหาทางออกไปจากทุกข์กฎแห่งเหตุผล การไม่ทำทุกข์ให้แก่ผู้อื่นทั้งเจตนาและไม่เจตนา หากเรามีศีลครบปฎิบัติดีปฎิบัติชอบ มีสมาธิ จดจ่อในการทำงานทำธุรกิจ ปัญญามันจะเกิดในตัวของเราให้การแก้ไขปัญหาในการพัฒนาธุรกิจให้ดีขึ้น
๓.๒ เงื่อนไข/คุณสมบัติ
(๑)  กรอกความรู้ ประกอบด้วย                                                                                                             - รอบรู้ เมื่อแรกเริ่มเมื่อไม่รู้ว่าจะบริหารเงินอย่างไรก็ตามศึกษาหาความรู้เราสามารถศึกษา
ได้จากความสำเร็จของธุรกิจและศึกษาจากผู้ประกอบการที่ล้มเหลว ตั้งแต่การหาแก่นของความรู้ทำไมเราถึงเลือกทำธุรกิจนี้ด้วย เมื่อไรเรารักเราชอบเราทำมัน ในเชิงธุรกิจบอกว่าเราจะทำได้ดี เราจะตั้งใจทำเราจะเอาใจใส่ เราจะดูแล ทางการบริการเงินเราต้องศึกษารู้ว่า
·       เมื่อเราขาดเงินจะหาแหล่งเงินทุนที่ไหน เราต้องเขียนโครงการขอกู้อย่างไร
·       เราจะผ่อนชำระหนี้มากน้อยเพียงใด จะไม่กระทบกับสภาพคล่อง
·       เราจะขายสดเท่าไรขายเชื่อเท่าไร เชื่อได้นานกี่วันจำนวนเงินเท่าไร
·       เรามีวัตถดิบมากเกินความต้องการ มีสินค้าคงเลหือมากจะทำอย่างไร
·       เรามีที่ดินเกินความต้องการใช้ เราจะทำอย่างไร
·       มีหนี้การค้าเราต้องดูแลให้ดี ถึงเวลาชำระหนี้ต้องตรงเวลา เครดิตจะดี
·       ต้องไม่ก่อหนี้นอกระบอบโดยเด็ดขาด อัตราดอกเบี้ยแพง
·       มีกำไรอย่าลืมนำมาสะสมไว้ ไม่ปันผลจนหมด เวลาไม่มีเงินจะได้นำมาใช้
สิ่งเหล่านี้ผู้เป็นเจ้าของธุรกิจต้องเรียนรู้ไว้ ไม่ใช่เมื่อเกิดปัญหาจึงจะหาทางแก้ไข เรา
ต้องรอบรู้ก่อน เป้นการเพิ่มศักยภาพประสิทธิภาพในการบริหารงาน                                                                    - รอบคอบ การบริหารเงินต้องมีความรอบคอบสูง ต้องมีวินัยทางการเงินสูง หย่อนยานไม่ได้ ทำธุรกิจก็กู้เงินได้ แต่เราต้องรู้จักใช้เงินในถูกวิธี ไม่ใช้เงินผิดประเภทผิดวัตถุประสงค์ แม้แต่เงินของเราเอง ใครจะมาหยิบยืมเงินที่ทำธุรกิจไม่ได้ ต้องนึกเสมอหากเราไม่ได้รับเงินกลับคืนมาทันเวลาการผลิต ใครจะเดือดร้อนบ้างทั้งลูกค้า ลูกน้อง เจ้าหนี้ ลูกหนี้  เราขายสินค้าเป็นเงินเชื่อต้องพิจารณาลูกหนี้แต่ละรายว่าจะให้เชื่อได้กี่วันซื้อเชื่อได้จำนวนเงินเท่าไร เราบริหารลูกหนี้ได้ เรามาบริหารเจ้าหนี้ต่อ เมื่อเรารู้ระยะเวลาให้ลูกหนี้เชื่อรู้จำนวนเงิน เราหาวิธีต่อรองกับเจ้าหนี้ให้ได้ระยะเวลาที่ยาวกว่าให้ลูกหนี้เจรจาให้ได้จำนวนเงินที่มากกว่าให้ลูกหนี้ หรือในทางตรงข้ามหากเราสามารถเจรจากับเจ้าหนี้ได้ก่อนและค่อยมาบริหารลูกหนี้ก่อนได้เหมือนกัน
                - ระมัดระวัง ใช้เงินทุกบาททุกสตางค์ที่หามาได้ด้วยความประหยัดระมัดระวังไม่สุรุ่ยสุร่าย จะซื้อสินค้ามาขายก็ต้องพิจารณาให้ดีของเสียยากเสียง่าย จะซื้อมามากน้อยเพียงใด ถ้าสินค้าตกรุ่นไม่เป็นทีต้องการของลูกค้าแล้วจะทำอย่างไรกับสินค้านั้นๆ จะกู้เงินก็ต้องระมัดระวังต้องคิดเสมอว่าเงินที่ได้มาต้องใช้ให้เกิดประโยชนืให้มากที่สุด เพราะเป็นเงินที่มีต้นทุน(ดอกเบี้ยจ่าย) แม้แต่เงินของเราก็มีต้นทุนเช่นกัน เพราะหากเราไม่เอามาลงทุนค้าขาย เอาไปฝากธนาคารเราก็ได้ดอกเบี้ย
โดยทุกขั้นทุกตอนต้องคิดต้องประชุมระดมความคิดมีการวางแผน งานทั้งการตลาด การดำเนินงาน โดยเฉพาะด้านการเงิน นึกอยู่เสมอเวลาเราติดขัดขาดเงินไม่เคยมีใครช่วยเราได้ ยกเว้นตัวเราเอง
                (๒) คุณธรรม ประกอบด้วย                                                                                                                              - ซื่อสัตย์สุจริต ประพฤติตรงไปตรงมาด้วยความจริงใจ ไม่คิดคดทรยศ ไม่คดโกงและไม่หลอกลวง ความประพฤติดีงาม ประพฤติชอบด้วยความตั้งใจดี คนที่มีความซื่อสัตย์สุจริต เป็นหนี้ต้องชำระหนี้ ไม่คิดโกงเงินใคร ไม่โกงไม่หลอกลวงลูกค้า พูดความจริง
                - ขยันอดทน คือ ความตั้งใจเพียรพยายามทำหน้าที่การงานอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ อดทน ความขยันต้องปฏิบัติควบคู่กับการใช้สติปัญญาแก้ ปัญหาจนเกิดผลสำเร็จ คนสู้งาน ไม่ท้อถอย กล้าเผชิญอุปสรรค อดทนหลีกเลี่ยงจากความชั่ว อดทนทำความดี อดทนรักษาใจไม่ให้เศร้าหมอง  อดทนต่อความยากลำบาก อดทนต่อทุกขเวทนา อดทนต่อความเจ็บใจ อดทนต่ออำนาจกิเลส                         - สติปัญญา ปัญญา ความรู้ทั่วถึงเหตุถึงผล รู้อย่างชัดเจน รู้เรื่องบาปบุญคุณโทษ รู้สิ่งที่ควรทำควรเว้น ไม่ให้หลงเชื่ออย่างงมงาย ปัญญาทำให้เกิดได้มี 3 วิธี คือ โดยการสดับตรับฟังการศึกษาเล่าเรียนโดยการคิดค้นการตรึกตรอง โดยการอบรมจิตการเจริญภาวนา สติหมายถึง ความระลึก ได้มีความรอบคอบ ไม่ลืม ไม่เผลอ ไม่ประมาท                                                                                                                - แบ่งปัน คือ การให้ การแบ่งปันสิ่งที่เรามี ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ หรือสิ่งที่เราสามารถให้แก่ผู้อื่นได้ และเป็นประโยชน์กับคนที่ได้รับ การให้นั้น หากได้มอบให้ผู้อื่นโดยไม่หวังสิ่งตอบแทนและบริสุทธิ์ใจ จะทำให้ผู้ที่มอบนั้นได้รับความสุขที่เป็นความทรงจำยาวนาน การแบ่งปันควรเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นเองจากจิตสำนึก

๔. ผลที่คาดว่าจะได้รับ ผลนำไปสู่  ชีวิตความเป็นอยู่
                (๑) เศรษฐกิจ   มีงานทำ มีความสบายใจ มีรายได้ด้วยการพึงตนเอง การไม่เป็นหนี้ มีหนี้ก็ลดลงทุกเดือนทุกปี การได้ช่วยเหลือสังคม
        (๒) สังคม การไม่ต้องเบียดเบียนซึ่งกันและกัน การพึ่งพาอาศัยกัน การมีจิตใจที่โอบอ้อม
อารีย์ การรู้จักการแบ่งปัน
        (๓) สิ่งแวดล้อม  การไม่ก่อมลภาวะ การลดมลภาวะ การพัฒนาให้ดีขึ้น การใช้วัสดุเหลือใช้
        (๔) วัฒนธรรม การรักษา การส่งเสริม การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ขนบธรรมเนียมประเพณี
วัฒนธรรม ความเป็นอยู่ ให้สังคมดำรงคงความเป็นไทย
๒.๔ การจัดการแบบยั่งยืน
(๑) สมดุล การทำชีวิตให้สมดุล การทำงานให้สมดุล การใช้จ่ายแบบสมดุล ในการดำเนินชีวิตต้องไม่เคร่งครัด ต้องมีระเบียบแบบแผนตายตัว แต่ก็ไม่ใช่ที่ไม่มีขอบกำหนดกฎเกณฑ์ใดๆเสียเลย โดยปกติของคนการดำรงชีวิตเมื่อทำงานได้รับกำไรหรือค่าจ้างแรงงาน ต้องรู้จักแบ่งเงินเพื่อส่วนค่าใช้จ่าย ส่วนที่เก็บไว้ในยามจำเป็นหรือฉุกเฉิน
(๒) มั่นคง – ทำให้เกิดความมั่นคงในชีวิต มั่นคงทางการงาน ความมั่นคงทางการเงิน ความมั่นคงในความเป็นอยู่ของตนเอง และเผื่อแผ่ไปสู่สังคมชุมชน                                                                            (๓) ยั่งยืน การเริ่มต้นที่การช่วยเหลือตนเอง  การรู้จักต่อยอดธุรกิจ การสร้างความเจริญ เติบโตของในตนเองและของกลุ่มชุมชน หรือประเทศชาติ
๕. สรุป  ท่านเคยทราบว่าทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียงในแง่มุมอื่น แต่ผมเห็นว่าเศราฐกิจพอเพียงสามารถปรับใช้ได้กับธุรกิจทุกธุรกิจ แม้แต่ด้านการบริหารเงินเศราฐกิจก็สามารถจะปรับใช้ได้เช่นกัน
หนังสือและเอกสารอ้างอิง
http://www.doae.go.th/report/SE/html/04.htm
http://www.ismed.or.th/SME
http://th.wikipedia.org/wiki
หนังสือพิมพ์แนวหน้า ปีที่ ๒๘ ฉบับที่ ๙๗๔๗ วันพุธที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๐

วันอังคารที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2555

วีดีทัศน์เศรษฐกิจพอเพียง

โครงงานเรื่อง:การดำเนินชีวิตตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง

โครงงานเรื่อง:การดำเนินชีวิตตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง



ชื่อโครงงาน: การดำเนินชีวิตตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง

จุดประสงค์: เพื่อให้ประชาชนสามารถพึ่งตนเองได้

สาระการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้อง:สังคมศึกษา **การดำเนินชีวิตตามแนวพระราชดำริ**


ที่มาและความสำคัญของโครงงาน: เศษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาที่ชี้แนวทางการดำเนินชีวิต ที่ในหลวง มีพระราชดำรัสแก่ปวงชนชาวไทยตั้งแต่ปี พ.ศ.2517 เป็นต้นมา การแก้ไขปัญหาเศษฐกิจของประเทศไทยให้ดำรงอยู่ได้อย่างยั่งยืนในกระแสโลกาภิวัฒัน์และความเลี่ยนแปลงต่างๆในทางการเมืองไทยแล้วเศษฐกิจพอเพียงมีบทบาทสำคัญในการสถปนาอำนาจนำด้านอุดมการณ์ ดดยเฉพาะอย่างยิ่ง*กษัตริย์นิยม*ในสังคมไทยในฐานะ**กษัตริย์นักพัมนา** ซึ่งส่งผลต่อการเจริญเติบโตของอุดมการณ์เศษฐกิจพอเพียง สิ่งเหล่านี้ถูกตอกย้ำและผลิตซ้ำโดยสถาบันทางสังคมต่างๆ


พระราชดำรัสเรื่องเศรษกิจพอเพียง: ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้นำความกราบบังคมทูลขอกรุณาขอพระราชทานพระบรมราชวินิจฉัย เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ.2542ทรงกรุราปรับปรุงแก้ไขพระราชทานและทรงกรุณาโปรดเกล้าฯพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้นำบทความที่แก้ไขไปเผยแผ่ เพื่อเป็นแนวทางของการปฎิบัติสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการ เศษฐกิจและสังคมแห่งชาติและทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนประชาชนทั่วไป
เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ.2542

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงได้รับการเชิดชูอย่างสูงจาก *องค์กรสหประชาชาติ* ว่าเป็นปรัชญาที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศไทยและนานาประเทศและสนันสนุนให้ประเทศสมาชิกยึดเป็นแนวทางการพัมนาแบบยั่งยืนดดยมีนักวิชาการแนวเศษฐศาสตร์หลายคนเห็นด้วยกับแนวทางเศษฐกิจพอเพียง


แนวคิด: เศรษฐกิจพอเพียงเชื่อว่าสามารถปรับเปลี่ยนครงสร้างทางสังคมของสัคมให้ดีขึ้นดดยมีปัจจัย 2 อย่างคือ

1. การผลิตจะต้องมีความสัมพันธ์กันระหว่าง ปริมาณผลผลิตและการบริโภค

2. ชุมชนจะต้องมีความสามารถในการจัดการทรัพยากรของตนเองผลที่ดีขึ้นคือ

-เศษฐกิจพอเพียงสามารถที่จะคงไว้ด้วยขนาดของประชากร

-ใช้เทคโนโลยีได้อย่างเหมาะสม

-รักษาสมดุลของระบบนิเวศและปราศจากการแทรกแซงจากปัจจัยภายนอก


หลักปรัชญาเศษฐกิจพอเพียง: ระบบเศษฐกิจพอเพียงมุ่งเน้นให้บุคคลสามารถประกอบอาชีพได้อย่างยั่งยืนและใช้จ่ายเงินให้ได้อย่างเพียงพอและประหยัดตามกำลังของเงินบุคคลนั้นโดยปราศจากการกู้ยืมและถ้ามีเงินเหลือก็แบ่งเก็บออมไว้ส่วนหนึ่ง ช่วยผู้อื่นบางส่วน และอาจจะใช้จ่ายมาเพื่อปัจจัยเสริมอีกบางส่วน สาเหตุที่แนวทางการดำเนินชีวิตอย่างพอเพียงได้ถูกกล่าวถึงอย่างกว้างขว้างในขณะนี้เพราะสภาพการดำรงชีวิตแบบสังคมทุนนิยมในปัจจุบันได้ถูกปลูกฝังหรือกระตุ้นด้วยให้เกิดการใช้จ่ายอย่างเกินตัวในเรื่องที่ไม่เกี่ยวข้องหรือเกินปัจจัยในการดำเนินชีวิต เช่น การบริโภคเกินตัว การแต่งตัวตามแฟชั่น ฯลฯ เป็นต้น จนทำให้ไม่มีเงินเพียงพอเพื่อตอบสนองความต้องการเหล่านั้นจึงเกิดเป็นวัฎจักรที่บุคคลหนึ่งไม่สามารถหลุดออกมาได้


สรุปผล: การดำเนินชีวิตตามแนวเศษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำรินั้นเป็นปัจจัยอีกอย่างหนึ่งที่คนไทยสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อให้ชีวิตดำรงอยู่อย่างมีความสุข มีกินมีใช้ ครอบครัวมีเงินเก็บและพึ่งตนเองตามแนวพระราชดำริที่ในหลวงทรงดำรัสไว้ เพื่อให้คนไทยพึ่งตนเองและกินใช้อย่างประหยัดเพื่อประโยชน์ของตนเอง ผู้ที่สามารถดำรงชีวิตตามแนวพระราชดำริที่ในหลวงดำรัสไว้ได้นั้นจะเป็นผู้ที่ประสบผลสำเร็จในชีวิตดำเนินชีวิตโดยไม่ลำบากชีวิตมีความสุขจากการพึ่งตนเอง


ข้อเสนอแนะ: การดำเนินชีวิตตามแนวพระราชดำรินั้นไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนตนเองวันเดียวทั้งหมดแต่เราค่อยๆเริ่มเปลี่ยนไปที่ละอย่าง อย่างเช่นการเก็บออมเป็นต้น
http://khowlaamtad.blogspot.com/2009/09/blog-post.html

28 ข้อคิดในการใช้ชีวิต

28 ข้อคิดในการใช้ชีวิต
Posted by Hoopie 18 September, 2011
28 ข้อคิดในการใช้ชีวิต เป็นข้อคิดที่เก็บไว้เมื่อนานมาแล้ว แต่เมื่อเอามาอ่านอีกทีก็พบว่ายังเป็นเรื่องที่ดีมากๆที่ควรแบ่งปันให้รับรู้โดยทั่วกัน ได้มาจากฟอเวิร์ดเมล์เมื่อนานมาแล้ว ลองอ่านกันดูนะ

1.อย่าทำลายความหวังของใคร เพราะทั้งชีวิตเขาอาจเหลืออยู่แค่นั้นก็ได้
2.เมื่อมีคนเล่าว่าเขามีส่วนร่วมในเหตุการณ์สำคัญ จง เป็นผู้ฟังที่ดีอย่าไปคุยทับ อย่าไปขัดคอ
3.จงตั้งใจฟังให้ดี โอกาสทองบางทีมันก็มาถึงแบบแว่วๆเท่านั้น
4.หยุดอ่านคำอธิบายสถานที่ทางประวัติศาสตร์ตามทางบ้างเพราะมีอะไรดีๆบางอย่างซ่อนอยู่
5.จะคิดทำการใดจงคิดการให้ใหญ่เข้าไว้ แต่ให้เติมความสนุกสนานลงไปด้วยเล็กน้อย
6.หัดทำสิ่งดีๆให้กับผู้อื่นจนเป็นนิสัยโดยไม่จำเป็นต้องให้เขารับรู้
7.จงจำไว้ว่า ข่าวทุกชนิดล้วนถูกบิดเบือนมาแล้วทั้งนั้น
8.เวลาเล่นเกมกับเด็กๆก็ปล่อยให้เด็กชนะไปเถอะ
9.ใครจะวิจารณ์เรายังงัยก็ตาม อย่าเสียเวลาไปโต้ตอบ แต่ให้ปรับปรุงตนเอง
10.จงให้โอกาสผู้อื่นเป็นครั้งที่ “สอง” แต่อย่าให้ถึง “สาม”
11.อย่าให้วิจารณ์นายจ้าง ถ้าทำงานไม่มีความสุขก็ลาออกดีกว่า
12.ทำตัวให้สบาย อย่าคิดมาก ถ้าไม่ใช่เรื่องคอขาดบาดตายแล้วอะไรๆ มันก็ไม่สำคัญอย่างที่คิดไว้แต่แรกหรอก
13.ใช้เวลาให้น้อยๆในการคิดว่า”ใครผิด” แต่ใช้เวลาให้มากในการคิดว่า”อะไร” เป็นสิ่งที่ผิด
14.จงจำไว้ว่าเราไม่ได้ต่อสู้กับ ” คนโหดร้าย ” แต่กำลังสู้กับ ” ความโหดร้าย ” ในตัวคน
15.โปรดคิด คิด คิด และคิดให้รอบคอบ ก่อนที่จะให้เพื่อนเรามีภาระในการเก็บรักษาความลับ
16.ยอมที่จะแพ้ในสงครามย่อยๆ เมื่อการแพ้นั้นจะทำให้เราชนะในสงครามใหญ่
17.เป็นคนถ่อมตน จำไว้ว่าคนอื่นทำอะไรต่อมิอะไรสำเร็จกันมามากมายก่อนเราเกิดเสียอีก
18.ไม่ว่าจะตกอยู่ในสถานการณ์เลวร้ายสักเพียงใด จงสุขุมเยือกเย็นเข้าไว้
19.มีมารยาทและอดทนกับคนที่สูงวัยกว่าเสมอ
20.อย่าให้ปัญหาของเราทำให้คนอื่นต้องเบื่อหน่าย ถ้ามีใครมาถามว่า ” เป็นไง?” ตอบไปเลยว่า ” สบายมาก”
21.อย่าพูดว่าเรามีเวลาไม่พอ เพราะทุกคนในโลกก็มีเวลาวันละ 24 ชม.เท่ากัน
22.จงเป็นคนใจกล้าและเด็ดเดี่ยว เมื่อเหลียวไปดูอดีต เราจะเสียใจในสิ่งที่ควรทำแล้วไม่ได้ทำ มากกว่าเสียใจในสิ่งที่ทำไปแล้ว
23.ประเมินตนเองด้วยมาตรฐานตนเอง ไม่ใช่มาตรฐานคนอื่น
24.จริงจัง และเคี่ยวเข็ญต่อตนเองให้มาก แต่จงอ่อนโยนและผ่อนปรนต่อผู้อื่น
25.ให้ความนับถือแก่ทุกคนที่ทำงานเพื่อเลี้ยงชีพโดยสุจริต ไม่ว่างานนั้นจะดูแย่แค่ไหนในสายตาคนรอบข้าง
26.คำนึงถึงการมีชีวิตให้ ” กว้างขวาง ” มากกว่าการมีชีวิตเพื่อ ” ยืนยาว ”
27.(บางครั้ง) อย่าไปหวังเลยว่าในชีวิตนี้จะมีความยุติธรรม
28.ว่ากันว่ามี 3 สิ่งที่ไม่ควรถูกทำให้แตกหรือทำลาย ได้แก่ ของเล่นเด็ก คำสัญญาและจิตใจของใครๆ ก็ตาม
http://happyhappiness.monkiezgrove.com/2011/09/18/28-%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%84%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%83%E0%B8%8A%E0%B9%89%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%95/

เรื่อง ปัญหาการใช้ภาษาไทยของครูและนักเรียน

เรื่อง  ปัญหาการใช้ภาษาไทยของครูและนักเรียน
    โดย  นางสาวน้ำฝน  ทะกลกิจ
   ในวิถีแห่งเทคโนโลยีและการสื่อสารไร้พรมแดน ท่ามกลางสังคมที่มีค่านิยมยอมรับนับถือวัตถุมากกว่าคุณค่าของจิตใจนั้น หลายๆสิ่งกำลังเจริญก้าวหน้าไปอย่างไม่มีขีดจำกัด ในขณะที่ยังมีอีกสิ่งหนึ่งที่กำลังดำดิ่งลงสู่ห้วงเหวแห่งหายนะอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งก็คือ ความเป็นไทยและภาษาไทย ภาษาชาติของเรานั่นเอง ที่กำลังถูกค่านิยมของคนรุ่นใหม่รุกรานจนแทบไม่หลงเหลือเค้าเดิมอยู่เลย

        ปัญหาการใช้ภาษาไทยนั้นเกิดขึ้นจากจุดเล็กๆจนในขณะนี้ลุกลามไปทุกหย่อมหญ้า แม้แต่ในสถานศึกษาอันเป็นแหล่งหล่อหลอมความรู้ก็มิได้ละเว้น ภาษาไทยกลายเป็นวิชาที่น่าเบื่อของผู้เรียน และสุดท้ายผู้เรียนจึงได้รับความรู้แบบงูๆปลาๆที่จะนำไปใช้ต่อไปอย่างผิดๆ หากเราจะแยกปมปัญหาการใช้ภาษาไทยในโรงเรียนนั้น สามารถแยกเป็นประเด็นใหญ่ๆ ได้       ๒ ประเด็น คือ



        ๑.ปัญหาการใช้ภาษาไทยที่เกิดจาก ครู เนื่องจากครู คือ ผู้ประสาทวิชา เป็นผู้ให้ความรู้แก่ศิษย์ ดังนั้นความรู้ในด้านต่างๆ เด็กๆจึงมักจะได้รับมาจากครูเป็นส่วนใหญ่ ในขณะที่ครูบางคนนั้นมีความรู้แต่ไม่แตกฉาน โดยเฉพาะวิชาภาษาไทยเป็นวิชาที่มีความละเอียดอ่อน และมีส่วนประกอบแยกย่อยอย่างละเอียดลออ เมื่อครูไม่เข้าใจภาษาไทยอย่างกระจ่าง จึงทำให้นักเรียนไม่เข้าใจตามไปด้วย จนพานเกลียดภาษาไทยไปในที่สุด ซึ่งเป็นปัญหาที่ปรากฏให้เห็นอยู่มากมายในปัจจุบัน

         ความเป็นครูนั้น แน่นอนการสอนย่อมสำคัญที่สุด ครูบางคนมีความรู้อยู่ในหัวเต็มไปหมดแต่กลับสอนไม่เป็น ซึ่งครูส่วนใหญ่มิได้ยอมรับปัญหานี้ บางคนสักแต่ว่าสอน แต่ไม่เข้าใจเด็กว่าทำอย่างไร อธิบายอย่างไร เด็กซึ่งเปรียบเสมือนผ้าข้าวนั้นจะซึมซับเอาความรู้จากท่านไปได้มากที่สุด การทำความเข้าใจเด็กจึงเป็นส่วนประกอบหลักที่สำคัญไม่แพ้ภูมิความรู้ที่มีอยู่ในตัวครูเลย   ครูจึงควรหันกลับมายอมรับความจริง และพยายามปรับปรุงแก้ไขตนเองให้เหมาะสมกับที่เป็นผู้รู้ที่คนทั่วไปยอมรับนับถือ

         ๒. ปัญหาการใช้ภาษาไทยที่เกิดจากนักเรียน ในสังคมยุคไซเบอร์ ซึ่งสามารถเข้าไปใช้บริการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้ทุกภาคส่วน “ เด็ก” ซึ่งเป็นวัยที่อยากรู้อยากลองจึงมิได้ให้ความสนใจเพียงแค่การศึกษาค้นคว้าข้อมูลการศึกษาเท่านั้น หากแต่สนใจกับภาคบันเทิงควบคู่ไปด้วย และโดยแท้จริงแล้ว มักจะให้ความสำคัญกับประเด็นหลังมากกว่าการค้นคว้าความรู้เสียด้วยซ้ำ ดังนั้นจึงสามารถกล่าวได้ว่าการใช้อินเทอร์เน็ตของเด็กนั้นเป็นปมปัญหาสำคัญยิ่งที่ไม่ควรมองข้าม

          ปัญหาการใช้ภาษาไทยที่เกิดจากอินเทอร์เน็ตนั้นเริ่มลุกลามมาจากโปรแกรมแช็ทรูมและเกมออนไลน์ ซึ่งดูคล้ายเป็นการสนทนากันธรรมดา แต่เมื่อได้เข้าไปสัมผัสแล้ว มิใช่เลย การสนทนาอันไม่มีขีดจำกัดของภาษาทำให้เกิดปัญหาขึ้นมากมาย ดังเช่นที่พบตามหน้าหนังสือพิมพ์ในปัจจุบัน และในขณะเดียวกันก็สร้างปัญหาให้แก่วงการภาษาไทยด้วย นั่นคือการกร่อนคำ
 และการสร้างคำใหม่ให้มีความหมายแปลกไปจากเดิม หรืออย่างที่เรียกว่าภาษาเด็กแนวนั่นเอง ดังจะขอยกตัวอย่าง ดังนี้
          สวัสดี เป็น ดีครับ ดีค่ะ
          ใช่ไหม เป็น ชิมิ
          โทรศัพท์ เป็น ทอสับ
          กิน เป็น กิง

          จะเห็นได้ว่าคำเหล่านี้ถูกคิดขึ้นและใช้กันอย่างแพร่หลาย โดยเหตุผล ๒ ประการ  คือ  เพื่อให้ดูเป็นคำที่น่ารัก และพิมพ์ง่ายขึ้น โดยที่ผู้ใช้ไม่คำนึงถึงว่า นั่น คือการทำลายภาษาไทยโดยทางอ้อม เพราะหลายๆคนนำคำเหล่านี้มาใช้ในชีวิตประจำวันเสียด้วยซ้ำ ดังจะเห็นได้ว่า เด็กบางคนนำภาษาเหล่านี้มาใช้ในโรงเรียนจนแพร่หลาย นั่นคือความมักง่ายที่นำพาความหายนะมาสู่วงการภาษาไทยที่ไม่ควรมองข้าม

         ปัญหาการใช้ภาษาไทยเป็นปัญหาที่ลุกลามใหญ่โตกลายเป็นไฟลามทุ่งอยู่ทุกวันนี้ หากไม่ได้รับการแก้ไขโดยเร็ว ภาษาไทยอันถือเป็นเอกลักษณ์ของความเป็นชาติไทยนี้อาจจะบอบช้ำเสียจนเกินเยียวยา การปลูกฝังจิตสำนึกและความตระหนักแก่ทุกคนในชาติจึงเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด เพราะทุกสิ่งที่มนุษย์ยึดถือปฏิบัติล้วนมาจากจิตสำนึกทั้งสิ้น เมื่อกระทำได้ดังนี้แล้ว ไม่ว่าวิถีชีวิตแบบไหน หรือค่านิยมสมัยใหม่ประเภทใดก็ไม่สามารถทำลายภาษาไทยของเราได้อย่างแน่นอน


http://www.pasasiam.com/home/index.php/pasasiam/private/523-2009-05-27-06-43-00